องค์ประกอบ

     (บุญเกื้อ  ครหาเวช, 2542: 94-97) องค์ประกอบที่สำคัญภายในชุดกิจกรรม สามารถจำแนกเป็น 4 ส่วน คือ
                      2.3.1 คู่มือครู เป็นครูมือครูและแผนการสอนสำหรับผู้สอนหรือผู้เรียนตามแต่ชนิดของกิจกรรม ภายในคู่มือจะชี้แจงถึงวิธีการใช้ชุดกิจกรรมเอาไว้อย่างละเอียด อาจทำเป็นเบ่มหรือแผ่นพับก็ได้
                      2.3.2 บัตรคำสั่งหรือคำแนะนำ จะเป็นส่วนที่บอกให้ผู้เรียนดำเนินการเรียนหรือประกอบกิจกรรมแต่ละอย่างตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ บัตรคำสั่งจะมีอยู่ในชุดกิจกรรมแบบกลุ่มและรายละเอียด ซึ่งจะประกอบด้วย
                                2.3.2.1 คำอธิบายในเรื่องที่จะศึกษา
                                2.3.2.2 คำสั่งให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรม
                                2.3.2.3 การสรุปบทเรียน
                      2.3.3 เนื้อหาสาระและสื่อ บรรจุไว้ในรูปสื่อการเรียนการสอนต่างๆ อาจประกอบด้วยบทเรียน โปรแกรม สไลด์ เทปบันทึกเสียง ตัวอย่างจริง รูปภาพ เป็นต้น ผู้เรียนจะศึกษาจากสื่อการสอนต่างที่บรรจุอยู่ในชุดการสอน ตามบัตรกำหนดไว้ให้
                      2.3.4 แบบประเมินผล ผู้เรียนทำการประเมินผลความรู้ด้วยตนเองก่อนและหลังเรียน แบบประเมินผลที่อยู่ในชุดการสอนอาจเป็นแบบฝึกหัดให้เติมคำลงในช่องว่าง เลือกคำตอบที่ถูกจับคู่ดูผลการทดลอง หรือให้ทำกิจกรรมเป็นต้น
                                ส่วนประกอบข้างต้นนี้จะบรรจุในกล่องหรอในซอง จัดเอาไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกแก่การใช้ นิยมแยกออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
                                2.3.4.1 กล่อง
                                2.3.4.2 สื่อการสอนและบัตรบอกชนิดสื่อการเรียนการสอนเรื่องตามลำดับการใช้
                                2.3.4.3 บันทึกการสอน
                                2.3.4.4 อุปกรณ์การสอน
                      (คาร์ดาเรลลี่, 1973: 150 อ้างถึงใน สุคนธ์  สินธพานนท์, 2551: 17) ได้กำหนดองค์ประอบของชุดการเยนการสอนว่า ต้องประกอบด้วย
                      2.3.1 หัวข้อ (Topic)
                      2.3.2 หัวข้อย่อย (Subtopic)
                      2.3.3 จุดมุ่งหมายหรือเหตุผล (Rational)
                      2.3.4 จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
                      2.3.5 การทดสอบก่อนเรียน (Pretest)
                      2.3.6 กิจกรรมการประเมินตนเอง (Activities and Self-Evaluation)
                      2.3.7 การทดสอบย่อย (Quiz หรือ Formative Test)
                      2.3.8 การทดสอบขั้นสุดท้าย (Posttest หรือ Summative Evaluation)
                      (ชัยยงค์  พรหมวงศ์, 2523: 120) ได้จำแนกองค์ประกอบของชุดการเรียนไว้ 4 ส่วน คือ
                      2.3.1 คู่มือครูสำหรับผู้ใช้ชุดการเรียน เป็นคู่มือสำหรับผู้เรียนที่ต้องการเรียนจากชุดการเรียน
                      2.3.2 เนื้อหาสาระและสื่อ จัดให้อยู่ในรูปของสื่อการเรียนแบบประสมและกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกลุ่มและรายบุคคลตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
                      2.3.3 คำสั่งหรือการมอบงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการเรียนให้ผู้เรียน
                      2.3.4 การประเมินผล เป็นการประเมินผลกระบวนการ ได้แก่ แบบฝึกหัดรายงานการค้นคว้าและผลการเรียนรู้ในรูปแบบแบบสอบถามต่างๆ ส่วนประกอบทั้งหมดจะอยู่ในกล่องหรือซอง โดยจัดเป็นหมวดหมู่เพื่อสะดวกในการใช้
                      (บุญชม  ศรีสะอาด, 2537: 95-96) ได้กล่าวว่าชุดการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ด้าน ดังนี้
                      2.3.1 คู่มือการใช้ชุดการเรียน เป็นคู่มือที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ชุดการเรียนการสอนศึกษาและปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ อาจจะประกอบด้วยแผนการสอน สิ่งที่ผู้สอนต้องเตรียมก่อนสอน บทบาทของผู้เรียน การจัดชั้นเรียน
                      2.3.2 บัตรงาน เป็นบัตรที่มีคำสั่งว่าจะให้ผุ้เรียนปฏิบัติอะไรบ้าง โดยระบุกิจกรรมตามลำดับขั้นตอนของการเรียน
                      2.3.3 แบบทดสอบความก้าวหน้าของผู้เรียน เป็นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับตรวจว่า หลังจากเรียนชุดการเรียนการสอนจบแล้ว ผุ้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์การเรียนที่กำหนดไว้หรือไม่
                      2.3.4 สื่อการเรียนต่างๆ เป็นสื่อสำหรับผู้เรียนได้ศึกษา มีหลายชนิดประกอบกันอาจเป็นสิ่งพิมพ์ เช่น บทความ เนื้อหาเฉพาะเรื่อง จุลสาร บทเรียนโปรแกรมหรือประเภทโสตทัศนูปกรณ์ เช่น รูปภาพ แผนภูมิต่างๆ เทปบันทึกเสียง ฟิล์มสตริป สไลด์ขนาด 2×2 นิ้ว ของจริง เป็นต้น
                      (สุคนธ์  สินธพานนท์, 2551: 18) องค์ประกอบของชุดการเรียนการสอนมี 4 ส่วน คือ
                      2.3.1 คำชี้แจงในการใช้ชุดการเรียนการสอน เป็นคำชี้แจงให้ผู้เรียนทราบจุดประสงค์ของการเรียน ศึกษาชุดการเรียนการสอนและส่วนประกอบของชุดการเรียนการสอน เช่น ประกอบด้วยบัตรคำสั่ง บัตรปฏิบัตรการ บัตรเนื้อหา บัตรฝึกหัดและบัตรเฉลย บัตรปฏิบัติการและบัตรเฉลย บัตรทดสอบ และบัตรเฉลยบัตรทดสอบ
                      2.3.2 บัตรคำสั่ง เป็นการชี้แจงรายละเอียดของการศึกษาชุดการเรียนการสอนนั้นว่าต้องปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างไร
                      2.3.3 บัตรกิจกรรมหรือบัตรปฏิบัติการ บางชุดการเรียนการสอนอาจออกแบบให้มีบัตรกิจกรรมหรือบัตรปฏิบัติการ ซึ่งเป็นบัตรที่บอกให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ
                      2.3.3 บัตรเนื้อหา เป็นบัตรที่บอกเนื้อหาให้ผู้เรียนศึกษา สิ่งที่ควรมีในบัตรเนื้อหาคือ หัวเรื่อง สูตร นิยาม และคำอธิบาย
                      2.3.4 บัตรแบบฝึกหัดหรือบัตรงาน เป็นแบบฝึกหัดที่ให้ผู้เรียนทำหลังจากได้ทำกิจกรรมและศึกษาเนื้อหาจนเข้าใจแล้ว
                      2.3.5 บัตรเฉลยบัตรแบบฝึกหัด เมื่อผู้เรียนทำบัตรแบบฝึกหัดเสร็แล้ว  สามารถตรวจสอบความถูกต้องจากบัตรเฉลยแบบฝึกหัด
                      2.3.6 บัตรทดสอบ เมื่อผู้เรียนได้ทำแบบฝึกหัดเสร็จแล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้ในหัวข้อที่เรียนนั้นๆ ต่อจากนั้นจึงให้ผู้เรียนทำบัตรทดสอบ
                      2.3.7 บัตรเฉลยบัตรทดสอบ เป็นบัตรที่มีคำเฉลยของบัตรทดสอบที่ผู้เรียนได้ทำไปแล้วเป็นการตรวจสอบหรือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ในการศึกษาชุดการเรียนการสอนนั้น
                                สำหรับชุดกิจกรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เป็นชุดกิจกรรมที่ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มและเป็นรายบุคคล มีการบรรยายประกอบการใช้สื่อประสม การทดลอง การใช้คำถาม และการตอบคำถามของนักเรียน เพื่อมุ่งเน้นให้นักเรียนได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการแสดงความคิดเห็น ความรับผิดชอบ การแก้ปัยหาร่วมกัน ตลอดจนการให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ผ่านกิจกรรมการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ โดยให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คนร่วมกันทำกิจกรรม