ขั้นตอนการสร้าง

      (สุคนธ์  สินธพานนท์, 2551: 18) การที่ผู้สอนสร้างชุดการเรียนการสอนเพื่อนำไปใช้ในนการเรียนการสอนนั้น ครูควรดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
                      2.5.1 เลือกหัวข้อ (Topic) กำหนดขอบเขตและประเด็นสำคัญของเนื้อหา ผู้สร้างชุดการเรียนการสอนควรเลือกหัวข้อและประเด็นสำคัญ ได้จากการวิเคราะห์มาตรบานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาข้นพื้นฐาน ในระดับชั้รที่จะสอนว่าหัวข้อใดที่เหมาะสมที่ควรนำไปสร้างชุดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาความรู้ได้ด้วยตนเอง
                      2.5.2 กำหนกเนื้อหาที่จะทำชุดการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความรู้พื้นฐานของผู้เรียน
                      2.5.3 เขียนจุดประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน การเขียนจุดประสงค์ควรเขียนเป็นลักษณะเฉพาะหรือจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนทราบจุดประสงค์ว่าเมื่อศึกษาชุดการเรียนการสอนจบแล้ว ผู้เรียนจะต้องมีความสามารถอย่างไร
                      2.5.4 สร้างแบบทดสอบ การสร้างแบบทดสอบมี 3 แบบ คือ
                                1. แบบทดสอบวัดพื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน เพื่อดูว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานก่อนที่จะมาเรียนเพียงพอหรือไม่ (เมื่อทดสอบแล้วถ้าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานไม่เพียงพอ ผู้สอนควรแนะนำให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ โดยวิธีใด เป็นต้น หรือผู้สอนอาจอธิบายความรู้เพิ่มเติมแก้ผู้เรียนในเรื่องนั้นๆ)
                                2. แบบทดสอบย่อย เพื่อวัดความรู้ของผู้เรียนหลังจากผู้เรียนเรียนจบในแต่ละเนื้อหาย่อย
                                3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์นการเรียน ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังจากการศึกษาชุดการเรียนการสอนจบแล้ว
                      2.5.5 จัดทำชุดการเรียนการสอน ประกอบด้วย
                                1. บัตรคำสั่ง
                                2. บัตรปฏิบัติการและบัตรเฉลย (ถ้ามี)
                                3. บัตรเนื้อหา
                                4. บัตรฝึกหัด และบัตรเฉลยบัตรฝึกหัด
                                5. บัตรทดสอบ และบัตรเฉลยบัตรทดสอบ
                      2.5.6 วางแผนจัดกิจกรรมการเรียยนการสอน ผู้สอนเตรียมออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีหลักการสำคัญ คือ
                                1. ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนเป็นผู้เพียงคอยชี้แนะ และควบคุมการเรียนการสอน
                                2. เลือกกิจกรรมหลากหลายที่เหมาะสมกับชุดการเรียนการสอน
                                3. ฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการคิดอย่างหลากหลาย เช่น คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัยหา คิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
                                4. มีกิจกรรมที่ฝึกให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกับผู้อื่น
                      2.5.7 การรวบรวมและจัดทำสื่อการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน สื่อการเรียนการสอนบางชนิดอาจมีผู้จัดทำไว้แล้ว ผู้สอนอาจนำมาปรับปรุงดัดแปลงใหม่ให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์ที่จะสอน ครูผู้สอน               ต้องสร้างสื่อการเรียนการสอนใหม่ ซึ่งต้องใช้เวลามาก            
                      (วิชัย  วงษ์ใหญ่, 2525: 134-137) ได้เสนอขั้นตอนการผลิตชุดกิจกรรมไว้ดังนี้
                      2.4.1 จะต้องศึกษาเนื้อหาสาระของวิชาที่จำนำมาสร้างชุดกิจกรรมนั้นอย่างละเอียดว่าจะมุ่งเน้นให้เกิดหลักการเรียนรู้อะไรบ้างกับผู้เรียน นำมาวิเคราะห์แล้วแบ่งเป็นหน่วยการเรียนการสอน ในแต่ละหน่วยจะต้องมีหัวข้อย่อยรวมอยู่อีก จะต้องศึกษาพิจารณาให้ละเอียดชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในหน่วยอื่นๆ อันจะสร้างความสับสนให้ผู้เรียนได้ การแบ่งหน่วยการเรียนการสอนของแต่ละวิชานั้น ควรเรียงลำดับขั้นตอนของเนื้อหาสาระอะไรเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ผู้เรียนควรเรียนรู้ก่อน
                      2.4.2 เมื่อศึกษาเนื้อหาสาระแบ่งเป็นหน่วยการเรียนได้แล้ว จะต้องพิจารณาอีกครั้งว่าจะทำชุดกิจกรรมแบบใด โดยคำนึงถึงข้อกำหนดว่าผู้เรียนคือใคร จะให้อะไรกับผู้เรียนและทำอย่างไร
                      2.4.3 กำหนดหน่วยการเรียนการสอน โดยประมาณเนื้อหาสาระที่เราถ่ายทอดความรู้แก่นักเรียนตามชั่วโมงที่กำหนด โดยคำนึงถึงว่าเป็นหน่วยที่น่าสนุก น่าเรียนรู้ หาสื่อการเรียนได้ง่าย หน่วยการเรียนนี้มีหลักการหรือความคิดรวบยอดอะไร
                      2.4.5 กำหนดความคิดรวบยอด ความคิดรวบยอดที่กำหนดขึ้นจะต้องสอดคล้องกับหน่วย และหัวเรื่องโดยสรุปแนวความคิด และหลักเกณฑ์ที่สำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม
      2.4.5 จุดประสงค์การเรียนรู้ กำหนดจุดประสงค์การเรียนให้สอดคล้อง
กับความคิดรวบยอดที่กำหนดเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่งผู้เรียนสารถแสดงออกมาให้เห็นภายหลังที่เรียนจบเนื้อหาแต่ละเรื่องและผู้สอนสามารถวัดได้
      2.4.6 การวิเคราะห์งาน นำจุดประสงค์การเรียนแต่ละข้อมาวิเคราะห์เพื่อหากิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสม
      2.4.7 เรียงลำดับกิจกรรมการเรียน เพื่อให้เกดการประสานกลมกลืน ไม่เกิดการซับซ้อน คำนึงถึงพฤติกรรมพื้นฐานผุ้เรียน
      2.4.8 สื่อการเรียน วัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมการเรียน ที่ครูและนักเรียนจะต้งอกระทำ เพื่อเป็นแนวทางการเรียนรู้ ซึ่งครูจะต้องจัดทำขึ้นและจัดหาไว้ให้เรียบร้อย ถ้าสื่อการเรียนเป็นของใหญ่โตหรือมีคุณค่าที่ต้องจัดเตรียมมาก่อนจะต้องเขียนบอกไว้ให้ชัดเจนในคู่มือครู เกี่ยวกับการใช้ชุดกิจกรรมว่าจะไปจัดหาได้ ณ ที่ใด เช่นเครื่องฉายภาพนิ่ง เครื่องบันทึกเสียง และพวกสิ่งเก็บไว้ได้ไม่ทนทานเพราะเกิดการเน่าเสีย เช่น ใบไม้ พืช สัตว์ เป็นต้น
                      2.4.9 การประเมินผล คือการตรวจสอบดูว่าหลังการเรียนการสอนแล้วได้มีการเปลี่ยนแปลงตามที่จุดประสงค์การเรียนกำหนดไว้หรือไม่ จะวัดผลให้ผู้เรียนวัดกันเองและตรวจคำตอบได้เอง
                      2.4.10 การทดลองชุดกิจกรรม เพื่อหาประสิทธิภาพ การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเพื่อปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสม ควรนำไปทดลองกับกลุ่มเล็กๆก่อน เพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่องและการแก้ไขปรับปรุงอย่างดี แล้วจึนำไปทดลองกับเด็กทั้งชั้นหรือกลุ่มใหญ่โดยกดำหนดขั้นตอนไว้ดังนี้
                                1. ชุดกิจกรรมนี้ต้องการความรู้เดิมของนักเรียนหรือไม่
                                2. การนำเข้าสู่บทเรียนของชุดกิจกรรมนี้เหมาะสมหรือไม่
                                3. การประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน มีความสับสนวุ่นวายกับผู้เรียนหรือไม่
                                4. การสรุปผลการเรียนการสออนเพื่อเป็นแนวทางสู่ความคิดรวบยอดหรือหลักการสำคัญของการเรียนรู้ในหน่วยนั้นๆ ดีหรือไม่
                                5. การประเมินผลหลังการเรียน เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นนั้น ให้ความเชื่อมั่นได้มากน้อยแค่ไหนกับผู้เรียน
                ดังนั้น สรุปได้ว่า การผลิตชุดกิจกรรมต้องศึกษาเนื้อหาสาระของวิชานนั้น และหน่วยที่จะนำมาทำชุดกิจกรรมอย่างละเอียดเพื่อจัดทำชุดกิจกรรมได้เหมาะสม กำหนดความคิดรวบยอด กำหนดจุดประสงค์การเรียนให้สอดคล้อง กับความคิดรวบยอดที่กำหนดเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม นำจุดประสงค์การเรียนแต่ละข้อมาวิเคราะห์เพื่อหากิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องและเหมาะสม เรียงลำดับกิจกรรม สื่อการเรียน การประเมินผลแล้วนำชุดกิจกรรมไปหาประสิทธิภาพหลังการเรียนเพื่อตรวจสอบว่าว่าผลเป็นอย่างไร